ขอเชิญร่วมงาน OOP WAY ครั้งที่ 7 ในวันที่  27 พฤศจิกายน 2552  มีการออกร้านจากสาขาวิชาต่าง มีการแข่งขันประกวดร้องเพลง และเต้น ห้ามพลาดของรางวัลมากมาย

                                                                                                         หน้าแรก   รายละเอียดโครงการ  อัลบัมรูป  ตางรางการจัดการ  รายชื่อผู้ประกวด  ติดต่อเรา

 

colorful_new.gif   ด่วน !!!!!  สำหรับท่านใดสนใจ แผ่นซีดีผู้เข้าร่วมประกวด ของใครสามารถสั่งจองได้นะค่ะ
ราคาเป็นกันเองค่ะ สนใจสั่งจองได้ที่ 0879476139 พี่แป้ง

 

colorful_hot.gif  ขอเชิญร่วมงาน OOP WAY
ครั้งที่ 7 ในวันที่
 
27 พฤศจิกายน 2552
 มีการออกร้านจากสาขาวิชาต่าง
มีการแข่งขันประกวดร้องเพลง
และเต้น ห้ามพลาดของรางวัลมากมาย



สนใจสั่งจองเสื้อ
SUT Singing challeg

พิเศษด่วนมีจำนวนจำกัด colorful_new.gif



 

1. ชื่อโครงการ  :  SUT singing challenge
2. 
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
 :  The Singer  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

3. 
รายชื่อสมาชิกในกลุ่มพร้อมหน้าที่ความรับผิดชอบ

               
นายตรีทศ ศุภคติสันติ์        B5075803             เป็นหัวหน้าโครงการดูแลการทำงานของทุกฝ่าย 

               นายณัฐวุฒิ  จันทะพล        B5074280             เป็นรองหัวหน้าโครงการ

                                                                                     ร่วมรับผิดชอบหน้าที่ในฝ่ายกิจกรรม

                นายวรวัฒน์  ศรีแก้วทอน  B5076024             ร่วมรับผิดชอบหน้าที่ในฝ่ายกิจกรรม

                นายศิริพงษ์  กลิ่นชาวนา   B5076543             ร่วมรับผิดชอบหน้าที่ในฝ่ายประชาสัมพันธ์

                นายภานุวัฒน์  โยธานัก     B5075423             ร่วมรับผิดชอบหน้าที่ในฝ่ายสวัสดิการ

                นางสาวสมพร  เมืองกลางB5075867            ร่วมรับผิดชอบหน้าที่ในฝ่ายสวัสดิการ

                นางสาวพรสุดา  พละศรี   B5073405             เป็นเลขานุการ

                                                                                      ร่วมรับผิดชอบหน้าที่ในฝ่ายทะเบียนและติดต่อประสานงาน

                นางสาวชลดา  ขานด่อน   B5075416             เป็นเหรัญญิก

 

                นอกจากนี้ยังพบผลงานการวิจัยของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาถึงปัญหาอาการติดเกมและอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ปี 2540 - 2550 โดยพบว่าอัตราผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและเกมในประเทศไทยปัจจุบันมีสูงถึง 1.5 ล้านคน โดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 5 – 21 ปี มีร้อยละ 58.6 เล่นติดต่อนาน 3-5 ชั่วโมง ร้อยละ 35.1 เล่นติดต่อนาน 1-2 ชั่วโมง และร้อยละ 6.3 เล่นติดต่อนานกว่า 8 ชั่วโมง มีเพียงร้อยละ 20 ที่ใช้เพื่อหาความรู้ และร้อยละ 80ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น เล่นเกมประเภทต่อสู้และใช้ความรุนแรง สนทนากับเพื่อนผ่านระบบออนไลน์ (Chat room) ดูหนัง ฟังเพลง และภาพลามกอนาจาร เป็นต้น ในความเป็นจริงนั้นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเกมไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้จะใช้ไปในทางที่สร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ แต่จากตัวเลขผลการวิจัยได้สะท้อนให้เห็นว่าผู้ใช้ใช้ไปในทางที่ไม่สร้างสรรค์ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ที่ยังไม่สามารถสร้างเกราะป้องกันตัวเองได้ดีเพียงพอ อินเทอร์เน็ตและเกมจึงกลายเป็นเครื่องมือที่ส่งผลกระทบต่อการเรียน การดำเนินชีวิต และความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเด็กที่ติดเกมมักจะขาดความรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น (18 ตุลาคม 2552) http://www.kriengsak.com/index.php?components=content&id_content_category_main=21&id_
content_topic_main=36&id_content_management_main=171

                จากผลการสำรวจและการศึกษาผลงานวิจัยเบื้องต้นนั้น จะเห็นว่านักศึกษาใช้เวลาไปกับการเล่นเกมและอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งมีจำนวนน้อยที่ได้รับประโยชน์จากการเล่นเกมและอินเทอร์เน็ต  ประกอบกับการที่นักศึกษาหลายๆคนไม่กล้าแสดงออกในสิ่งที่สร้างสรรค์ เพราะอายหรือไม่มีโอกาสที่จะแสดงออกมากนัก  ผู้จัดทำโครงการต้องการให้นักศึกษาได้มีโอกาสที่จะแสดงออกอย่างสร้างสรรค์  จึงได้จัดกิจกรรมดนตรีและการประกวดร้องเพลงนี้ขึ้นมา 

4.2 วิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้อง 

                1. นโยบายเพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีสันติสุขอย่างยั่งยืน บนฐานของวัฒนธรรมไทย และใช้สื่อทุกรูปแบบในการสร้างสรรค์สังคม เช่น การร้องเพลง  การเขียนบทเพลง  การเขียนภาพ เป็นต้น ซึ่งรักษาสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชาติ และความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเชิดชูคุณค่าและจิตวิญญาณของความเป็นไทย ตลอดจนสร้างความสามัคคี เอื้ออาทรสมานฉันท์ของสังคมและประเทศชาติ

                                1.1 ผู้กำหนดนโยบาย :  รัฐบาลไทย

                                2.1 ชนิดของกิจกรรมที่นโยบายต้องการเน้น :  การร้องเพลง  การเขียนบทเพลง  ฯลฯ

                                3.1 ผู้ได้รับผลจากนโยบาย : ประชาชนสังคมไทยที่ปฏิบัติตนได้สอดคล้องกับนโยบาย

                2. นโยบายด้านศิลปวัฒนธรรม ประจำปี 2550  เน้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม  โดยมีแนวคิดเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาสุขภาพจิตของนักศึกษา  เพื่อลดความตึงเครียด  ความเหนื่อยล้าจากการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน                   2.1 ผู้กำหนดนโยบาย : องค์การบริหาร  องค์การนักศึกษา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

                                2.2 ชนิดของกิจกรรมที่นโยบายต้องการเน้น :  กิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม

                                2.3 ผู้ได้รับผลจากนโยบาย : นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม

                3. นโยบายที่สำนักเทคโนโลยีสังคมได้เป็นผู้กำหนด  มีแนวคิดที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีสังคม  เน้นให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานและเข้าร่วมกิจกรรมด้านเทคโนโลยีสังคม  เพื่อพัฒนาทักษะมนุษย์  ทักษะการสื่อสาร  ให้กับนักศึกษา 

                                3.1 ผู้กำหนดนโยบาย : สำนักเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

                                3.2 ชนิดของกิจกรรมที่นโยบายต้องการเน้น :  กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานและกิจกรรมด้านเทคโนโลยีสังคม

                                3.3 ผู้ได้รับผลจากนโยบาย : นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่สร้างสรรค์ผลงานและเข้าร่วมกิจกรรมด้านเทคโนโลยีสังคม

                ทั้งสามนโยบายเป็นแนวทางไปสู่การจัดทำโครงการเพื่อจัดกิจกรรมการประกวดร้องเพลง  โดยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเข้าร่วมกิจกรรม  ซึ่งตอบสนองกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่เน้นกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น การร้องเพลง การเขียนเพลง ฯลฯ  อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายขององค์การบริหาร  องค์การนักศึกษา  และสำนักเทคโนโลยีสังคมที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงาน  รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสังคม  เพื่อพัฒนาทักษะและสุขภาพจิตของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย   

     4.3 กลุ่มเป้าหมาย 

                กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  ระดับปริญญาตรี  ชั้นปีที่ 1-4  ที่มีความสนใจและชอบดนตรีชอบการร้องเพลง  ทั้งนักศึกษาที่กล้าแสดงออกหรือไม่มีโอกาสได้แสดงออก  ซึ่งต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรม ตระหนักถึงการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

5. วัตถุประสงค์ 

                1.            เพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการทั้งผู้เข้าร่วมประกวดและผู้เข้าชมการประกวดได้ตระหนักถึงการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมมากขึ้น  รวมทั้งมีความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  รู้แพ้  รู้ชนะ รู้อภัย  ต่อกันและกัน

                2.            เพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมประกวดในโครงการได้ประสบการณ์จากการประกวดร้องเพลง  ได้เสริมทักษะด้านการแสดงออก  นำไปสู่การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีและความมั่นใจให้กับตนเอง  รวมทั้งได้นำข้อผิดพลาดของตนเองไปปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

                3.            เพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการทั้งผู้เข้าร่วมประกวดและผู้เข้าชมการประกวดได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์  และเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกเพิ่มมากขึ้น  รวมทั้งสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ  ทั้งกลุ่มผู้เข้าร่วมประกวดและผู้เข้าชมการประกวด

                4.            เพื่อสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีในการเป็นสื่อกลางการจัดโครงการโดยนักศึกษาเพื่อนักศึกษา  ที่มีผลงานออกมาเป็นรูปธรรม

               

สรุปเหตุผลสนับสนุน

                โครงการนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการ SUT Dream Challenge  ซึ่งเป็นโครงการที่จัดการประกวดร้องเพลง  มีผู้เข้าร่วมประกวดมากมาย  แต่ผู้เข้าร่วมในชมในโครงการมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ  จึงได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบการประกวดให้ดูน่าสนใจและกระชับขึ้น  จากเดิมมีการคัดผู้เข้าร่วมประกวดออกทุกๆสัปดาห์  เปลี่ยนการจัดการประกวดเป็นสามรอบ  รอบแรกออดิชั่นหาผู้เข้ารอบ 8-12 คน  รอบสองคัดเลือกผู้เข้ารอบ 5 คน  แล้วจึงเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ  5 คนสุดท้าย  ในการออดิชั่นจะให้ร้องสดโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วย  รอบคัดเลือกจะให้ร้องกับคาราโอเกะ  และรอบชิงชนะเลิศจะให้ร้องกับวงดนตรี  โดยให้เปิดมินิคอนเสิร์ต  15 นาที  ซึ่งการร้องกับวงดนตรีจะสามรถดึงดูดความสนใจและมีผู้เข้าร่วมโครงการมากยิ่งขึ้น  ผู้ชมเกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลินกับการเข้าร่วมโครงการ  อีกทั้งสื่อต่างๆในขณะนี้ได้ให้ความสำคัญกับการประกวดร้องเพลงเป็นจำนวนมาก  จากการประกวด The Star AF ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  คณะผู้จัดทำโครงการจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย  เพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายจากการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน  และเพื่อให้มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น  ผู้จัดทำโครงการจึงได้เน้นและสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงออกในทางที่ดีและสร้างสรรค์  โดยการจัดกิจกรรมการประกวดร้องเพลงนี้ขึ้น  เพื่อเป็นการสนับสนุนความสามารถของนักศึกษา  ให้มีความกล้าแสดงออก  และให้นักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

 

Copyright © The singer Information Thechnology SUT